Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

การตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่งซึ่งมักพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้าน มีลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผน เร้าใจ มีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

มีผู้รู้ได้ให้ประวัติของกลองสะบัดชัยว่า ในสมัยก่อนนั้นมีกลองชนิด ใช้ตีในการออกศึก
ตีเรียกฝนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาล หรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ มีทำนองอยู่หลายทำนอง แล้วแต่ใช้ประกอบในงานหรือพิธี เช่น ทำนองออกศึก เป็นทำนองที่ใช้ตีเมื่อจะไปออกศึก เพื่อให้นักรบ
มีความฮึกเหิม เป็นการปลุกขวัญกำลังใจให้แก่นักรบ ทำนองชนะศึก(เป็นทำนองที่นิยมตีกันในปัจจุบัน) ตีเมื่อรบชนะเป็นการตีเอาชัยชนะกลับเข้าเมือง นักรบจะแสดงท่าที่เป็นฮึกเหิมโดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย ประกอบการตีด้วย ทำนองแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ และทำนองสุดธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทำนองฝนแสนห่า ใช้ตีเรียกฟ้าฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล
ปัจจุบันศิลปะการตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ได้นำชื่อเสียงทางด้านวัฒนธรรมพื้นบ้านสู่ล้านนา และบทบาทของกลองสะบัดชัย จึงอยู่ในฐานะการแสดงในวัฒนธรรมล้านนาต่างๆ เช่น งานขันโตก งานพิธีต้อนรับแขกเมือง ขบวนแห่ แต่โอกาสใช้กลองสะบัดชัยแต่เดิมมาถึงปัจจุบันยังมีอีกหลายประการซึ่งมีหลักฐานปรากฏในวรรณกรรมต่างๆมากมายโดยสามารถสรุปได้ดังนี้
1.ใช้ตีบอกสัญญาณ การใช้กลองสะบัดชัย ตีบอกสัญญาณนั้นมีหลายลักษณะ ดังนี้
– สัญญาณโจมตีข้าศึก
– สัญญาณบอกข่าวในชุมชน
2. เป็นมหรสพ
3. เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ
4. เป็นเครื่องประโคมเพื่อความสนุกสนาน

ในปัจจุบันมีการใช้กลองสะบัดชัย ตีในงานบุญ เช่น งานสลากภัตต์ ลักษณะนี้จะตีจังหวะเร่งเร็วเสมอต้นเสมอปลาย โดยมีคนใช้แส้ไม้ไผ่ที่เรียกว่าไม้แสะ ฟาดหน้ากลองด้วยจังหวะ แต่ไม่มีฉาบ และฆ้องประกอบ(ทำนองออกศึก) ลักษณะการตีดังกล่าวทั้งหมดเป็นการตีอยู่กับที่ ภายหลังเมื่อเข้าขบวนก็ได้ใช้จังหวะหรือทำนอง สะบัดชัยไม่ใช้ไม้แสะ(ทำนองชนะศึก)
ปัจจุบันนี้กลองสะบัดชัยคงเหลือไว้เป็นกลอง 3 ประเภท คือ

1. กลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีลูกตุบ ที่มักเรียกว่า กลองบูชา แขวนอยู่ในหอกลองของวัดต่างๆ ลักษณะการตีมีจังหวะหรือทำนองที่เรียกว่าระบำ ทั้งช้าและเร็ว บางระบำมีฉาบและฆ้อง บางระบำมีคนตีไม้แสะประกอบอย่างเดียว

2. กลองสองหน้ามีลูกตุบและคานหาม เรียกว่ากลองชัย (สะบัดชัยลูกตุบ) เวลาตีผู้ตีจะถือไม้แสะข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่ง ถือไม้ตีกลอง การตีลักษณะนี้อาจมีฉาบและฆ้อง ประกอบ หรือไม่มีก็ได้ ปัจจุบันกลองสะบัดชัยประเภทนี้เกือบสูญหายไปแล้ว ผู้ที่ตีได้และยังมีชีวิตอยู่เท่าที่ทราบคือพ่อครูมานพ(พัน) ยารณะ ซึ่งเป็นศรัทธาวัดสันป่าข่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่

3. กลองสองหน้า มีคานหาม ไม่มีลูกตุบ(กลองละบัดชัยสมัยใหม่) มีฉาบและฆ้องประกอบจังหวะ และมักมีนาคไม้แกะสลักประดับ ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นลายของพ่อครูคำ กาไวย์ ชาวบ้านแพะขวาง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
นี่แหละครับกลองสะบัดชัย ของดีแห่งล้านนาที่เราควรรู้จัก เป็นเครื่องดนตรีที่น่าสนใจและมีประวัติที่ยาวนาน ควรค่าแก่การรักษาและสืบสานต่อ ให้อยู่คู่เชียงใหม่เมืองล้านนาของเราไปนานๆนะครับ อ้อ….เกือบลืมไป โรงเรียนโปลิเทคนิคลานนาของเราก็มีกลองสะบัดชัยเหมือนกันนะ ไม่น้อยหน้าใครแน่นอน แถมมีชมรมดนตรีพื้นเมืองที่มีนักศึกษาของโปลิเราล้วนๆ เป็นนักดนตรีเล่นโชว์กันได้เต็มวงเลยทีเดียวหละ….แถมได้ออกงานไปรวมแสดงในงานใหญ่ๆมาแล้ว งานนี้
ไม่เชื่ออย่าลบหลู่นะ ขอบอก…..

ชื่อจริง
รำพึง จิตรหาญ

ชื่อในวงการ
พุ่มพวง ดวงจันทร์

ผู้ชักนำเข้าสู่วงการ
อาจารย์นคร ทิพย์ปัญญา

ครอบครัว
มีลูก 3 คน (เป็นลูกสุดท้อง)

วันเกิด
4 สิงหาคม พ.ศ. 2504

วันสิ้นลม
3 มิถุนายน พ.ศ. 2535

ที่อยู่ปัจจุบัน
จังหวัดสุพรรณบุรี

สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ !!
ชื่อเล่น ผึ้ง หรือชื่อจริง รำพึง จิตรหาญ นักร้อง เพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้กับนักร้องรุ่นหลัง

ความเป็นมาของราชินีลูกทุ่ง

เรื่องราวราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์

เด็หญิงรำพึง จิตรหาญ ในนาม “น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย”
เป็นที่ใช้ในการประกวดร้องเพลงแถว สองพี่น้อง
ศรีประจันต์ บางปลาม้า ผักไห่ เสนา มหาราช วิเศษ
ชัยชาญ บ้านแพรก หนองโดน พระพุทธบาท
หลังจากนั้นบ่ายหน้าเข้ากรุงเทพฯกับพี่ชายมาอยู่รับใช้
ในวง ดนตรีเล็กๆแถวซอยบุปผาสวรรค์ไม่ประสบความ
สำเร็จ จึงกลับบ้านมาตัดอ้อย
จนวงดนตรีของไวพจน์ เพชรสุพรรณมาเปิดการแสดง
ที่วัดทับกระดาน พ่อสำราญนำมาฝากกับไวพจน์ในฐานะ
ลูกบุญธรรม และไวพจน์ก็สนับสนุนให้อัดแผ่นเสียง
เพลงแรก “แก้วรอพี่” โดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณเป็น
ผู้แต่งเพลงให้ ตามมาด้วยเพลง ” นักร้องบ้านนอก”
ไวพจน์แต่งเช่นกัน เป็นที่รู้จักในชื่อ “น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ”
อายุ 15 ปีในตอนนั้น มีแฟนคนแรกชื่อ ธีระพล แสนสุข
พากันมาอยู่วงขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด

มนต์ เมืองเหนือ เป็นผู้ตั้งชื่อ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ให้
ด้วยความหมายว่า ดวงจันทร์จะสวยงามเมื่อส่องสว่างอยู่
ในท้องทุ่งบ้านนอก

พุ่มพวง ตั้งวงเองโดยการผลักดันของ ธีระพลผู้เป็นสามี
และมนต์ เมืองเหนือ ล้มลุกคลุกคลานจนได้เข้าสังกัด
บริษัทเสกสรรเทปของประจวบ จำปาทอง เสี่ยงู้ ปรีชา
อัศวฤกษ์นันท์ และหมอเอื้ออารีย์ จึงถูกโปรโมทจับคู่กับ
เสรี รุ่งสว่าง จนโด่งดังสุดขีดในปี 2525 ในสังกัดอโซน่า
เมื่อมาร้องเพลงผลงานการแต่งของลพ บุรีรัตน์ เช่น สาว
นาสั่งแฟน, นัดพบหน้าอำเภอ, อื้อฮือหล่อจัง, กระแซะเข้า
มาซิ และอีกมากมาย

พุ่มพวง ดวงจันทร์โด่งดังมากในเวลานั้น พุ่มพวงได้เป็น
นางเอกภาพยนตร์และได้พบกับไกรสร แสงอนันต์ ได้อยู่ด้วย
จนมีลูกคนหนึ่ง ชื่อ น้องเพชร หลังจากนั้นพุ่มพวงประสบ
กับปัญหาครอบครัวอย่างหนัก และปัญหาเรื่องสุขภาพมีอาการ
ภูมิแพ้ตัวเอง หรือโรคลูปุส อาการลุกลามถึงไต ก่อนจะเสียชีวิต
ขณะเดินทางไปพิษณุโลก เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2535
อายุ 31 ปี จบชีวิตของ ราชินีเพลงลูกทุ่งชื่อดังผู้มากความ
สามารถ และมึความอดทนต่อสู้ชีวิตจนถึงวันสุดท้าย

ลพ บุรีรัตน์แต่งเพลงให้ พุ่มพวง ดวงจันทร์
เพลงโลกของผึ้ง อธิบายถึงชีวิตของพุ่มพวง
ได้เป็นอย่างดีว่า ” ผึ้งผกผิน บินลิ่วลอยเคว้ง เอาเสียงเพลง
แลกเงินผึ้งก็หวัง แฟนผึ้งยังไม่เมิน ปล่อยผึ้งเดินที่สลัว
ผึ้งได้กิน ใช้กินเพียงตัว ทางครอบครัวก็อิ่มกัน”

น้ำตาจะไหล – Am fine [MV HD]

 

 

ดอกไม้ประจำจังหวัด

เชียงราย

ชื่อดอกไม้

ดอกพวงแสด

ชื่อสามัญ

Orange Trumpet, Flame Flower.

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pyrostegia venusta., Miers.

วงศ์

BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป

พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยเกาะได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบเป็นมือเกาะ ใบออกสลับกัน สีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิดกิ่ง ใบรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกดกจนดูแน่นช่อ มีกลีบรองดอก เป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงาย ดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกยาวประมาณ 5–6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน สั้น 2 อัน และยาว 2 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่ตรงกลาง สีตองอ่อน และยาวกว่าเกสรตัวผู้ พวงแสดออกดอกช่วง เดือนธันวาคม–มีนาคม ของทุกปี

การขยายพันธุ์

ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วน ไม่ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

ประเทศบราซิลและอาเจนตินา

 

พืชสมุนไพร


พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า ” ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม”
บทความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ “สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด” ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ
จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..

MV เพลงโดเรม่อน 2010

ผีเสื้อ

วิวัฒนาการของผีเสื้อ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าผีเสื้ออาจมีต้นกำเนิดแต่ยุคครีเทเชียส (Cretaceous Period) ซึ่งยุติเมื่อกว่าหกสิบห้าล้านปีก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในตระกูลผีเสื้อมีน้อยมาก จึงทำให้การคะเนเกี่ยวกับต้นกำเนิดผีเสื้อเป็นไปได้ไม่สะดวกนัก โดยซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ดังกล่าวที่มีอายุมากที่สุดคือซากนิรนามของสัตว์สคิปเพอร์ (Skipper, Thymelicus lineola) อายุราวสมัยพาเลโอซีน (Paleocence Epoch, ประมาณห้าสิบเจ็ดล้านปีก่อน) พบที่เมืองเฟอร์ (Fur) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และซากดึกดำบรรพ์ประเภทอำพันแห่งโดมินิกัน (Dominican amber) ของผีเสื้อเมทัลมาร์ก (Metalmark, Voltinia dramba) อายุยี่สิบห้าล้านปี

ปัจจุบันโดยปรกติวิสัยผีเสื้อกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิประเทศหนาวเย็นและแห้งแล้ง มีการประมาณว่าขณะนี้มีผีเสื้อในมหาวงศ์ (Superfamily) พาพิลิโอโนอิเดีย (Papilionoidea) กว่าหนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยชนิด (species) และมหาวงศ์เลพิดอปเทรา (Lepidoptera) กว่าหนึ่งแสนแปดหมื่นชนิด

                                                     ประวัติตัวละครการ์ตูนโดเรมอน

Doraemon : โดเรม่อน
โดเรม่อน หรือโดราเอม่อน เป็นแมวหุ่นยนต์ในโลกอนาคต ยุคศตวรรษที่ 22 เกิดวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2655 มีน้ำหนัก 129.5 กก. ความสูง 129.3 ซม. กระโดดได้สูง 129.3 ซม. และยังวิ่งได้เร็วถึง 129.3 กม. / ชม. ลักษณะตัวอ้วนกลมสีน้ำเงิน ไม่มีใบหู เนื่องจากถูกหนูกิน ไม่มีนิ้วมือ มีกระดิ่งห้อยคอสีเหลือง มีหนวดหกเส้น มีกระเป๋าหน้าสำหรับเก็บของวิเศษ สารพัดอย่างที่สุดยอด อาหารที่ชอบที่สุดคือ แป้งทอด (โดรายากิ) สิ่งที่กลัวที่สุดคือ หนู อ่านต่อ »